วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

    
 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
 สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น 1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น 2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย 3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน 1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้ 3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน 5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ 7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ 8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม ระบบสื่อการศึกษา นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น ในการเลือกสื่อด้วยวิธีระบบนั้น กูดแมน ได้เสนอวิธีการเลือกไว้ตามลำดับดังนี้ 1.พิจารณาดูว่าในจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้กำหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมโดยการดู การฟัง หรือการกระทำ 2.พิจารณาดูคุณลักษณะของผู้เรียน (อายุ ระดับชั้น ระดับสติปัญญา พัฒนาการทางการอ่านลักษณะทางร่างกาย พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น ) จะบ่งบอกได้ว่าสามารถใช้สื่อกับเด็กคนนั้นหรือกลุ่มนั้นได้บ้าง 3.พิจารณาดูว่ามีสื่ออะไรบ้าง ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะตามที่ต้องการดังกล่าวแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด 4.พิจารณาวิธีการนำเสนอที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม และในการนำเสนอนั้นมีสื่ออะไรบ้าง จะต้องเตรียมเครื่องมือประเภทใดในการนำเสนอครั้งนั้น 5.นำเสนอเครื่องมือ โดยการสำรวจดูว่าเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนครั้งนี้ที่มีอยู่ในสถานศึกษาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะซื้อหรือหามาด้วยวิธีใด 6.การวิเคราะห์สื่อและสำรวจสื่อที่ต้องการ โดยการวิเคราะห์สื่อในสถานศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนเนื้อหานั้น ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้ 7.วิเคราะห์ขีดความสามารถของหน่วยงานผลิตสื่อที่ไม่ให้บริการหรือไม่มีขายได้หรือไม่ ถ้าผลิตเองได้ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่ามีงบประมาณที่จะใช้ในการผลิตหรือไม่และได้มาจากไหน 8.พิจารณาดูว่าสื่อต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับวิธีการนำเสนอนั้น ๆ มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณภาพและราคาเพียงใดแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญสำหรับการเลือก 9.เลือกวิธีการและสื่อที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเลือกตัวเลือกที่มีคุณภาพ และราคาเหมาะสม 10.เลือกสื่อหรือผลิตสื่อที่ต้องการ ในขั้นนี้ ผู้ใช้จะได้สื่อที่ต้องการ แต่ถ้าสื่อนั้นไม่มีจะนำไปผลิตต้วยวิธีการระบบ จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการใช้วิธีการระบบในการเลือกสื่อ จะมีขั้นตอนที่ผูกพันกับการผลิตสื่ออยู่ด้วย การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน ในสมัยปัจจุบันการที่จะเป็นครูผู้สอนที่ดี มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการสอนสูงดูจะเป็นสิ่งที่ยากกว่าแต่ก่อน ๆ นี้มากครูสมัยใหม่นี้จะต้องมีความรอบรู้และสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่นเกี่ยวกับผู้เรียน พฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียนหรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาสาระของวิทยาการต่าง ๆ ที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมทั้งสภาวะแวดล้อมอันยุ่งยากสับสน ความเปลี่ยนแปลงตลอดจน ธรรมชาติ และความสามารถของแต่ละบุคคลในการศึกษาเล่าเรียน ครูจะต้องนำเอาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้มารวบรวม ประยุกต์และดัดแปลงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารการสอนต่อไปได้ด้วย ในสมัยโบราณที่ผ่านมา การสอนเป็นไปตามวิธีการของการปลูกฝังความเชื่อมากกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์และครูผู้ประสบความสำเร็จในสมัยนั้นก็คือ ครูเป็นผู้สอนเนื้อหาและจัดการงานต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยตรงเพื่อผู้เรียน คือเน้นครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนนั่นเองปัจจุบันสภาพการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ครูผู้ ประสบความสำเร็จจะเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารงานสอนและดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล (Information) ที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิธีการนี้บทบาทของครูจะเปลี่ยนไปจาก ผู้สอนเนื้อหาเป็นการพยายามดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และใช้เวลาน้อยลง แน่นอนงานอันค่อนข้างยากนี้ย่อมต้องอาศัยความรอบรู้ประสบการณ์และทักษะมากพอสมควร ครูจะต้องมีความรอบรู้และความสนใจในแหล่งข้อมูลข่าวสารรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เรียน วิธีการสื่อสารและจะต้องตรวจสอบโดยสม่ำเสมอด้วยว่า กำลังสอนอะไรอยู่ในเนื้อหาอะไรและผลการสอนเป็นอย่างไร การบริหารงานข้อมูลของครูที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนั้นแตกต่างจากหน้าที่การสอนแบบเก่า ทั้งนี้เพราะเนื้อหาวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวอย่างกว้างขวาง ครูปัจจุบันจะต้องคอยติดตามสอดส่องและศึกษาภาวะของข้อมูลจากสื่อต่าง ๆอยู่ตลอดเวลาและนำมาเผยแพร่แก่ผู้เรียนในการสอนด้วยเหตุนี้การดำเนินการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพจำเป็นที่ครูจะต้องศึกษาเกี่ยวกับการ วางแผนและการจัดวางข้อมูลตลอดจน การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารเสียก่อนการสื่อสาร(Communication) อาจให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างองค์การ (organization) ต่าง ๆ คือทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเป็นขบวนการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรื่องราวความคิดและทัศนคติซึ่ง การสื่อสารอาจจะเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์หรือมนุษย์กับเครื่องจักรกล หรือระหว่างเครื่องจักรกลกับเครื่องจักรกลก็ได้ ตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือการสื่อสารจากผู้เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไปยังผู้อ่านจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า การสื่อสารมวลชน (Masscommunication) สำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกลกับเครื่องจักรกลนั้น อาจสรุปอธิบายและยกตัวอย่างได้ เช่น ระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสารประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1. ผู้ส่ง (Sender) 2. ผู้รับ (Receiver) 3. สาร (Message) 4. สื่อกลาง (Medium) 1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นแหล่งที่มา ของสาร และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการสื่อสารในกรณีของสิ่งมีชีวิต ผู้ส่งจะนำเอาความสามารถในการตอบสนองเข้ามาบรรจุไว้ในที่สะสมสารซึ่งได้มีการวางสายของการติดต่อสื่อสารไว้แล้ว เรียกขั้นนี้ว่าการเข้ารหัส (Encoder) สารที่ผู้ส่งรวบรวมและส่งออกไปนั้นเป็นผลผลิตของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ส่งกำลังประสบอยู่ในเวลาและสภาพแวดล้อมขณะนั้น และผู้รับก็จะสามารถรับไว้ได้เฉพาะข้อมูลบางชนิดที่ตนมีส่วนสัมพันธ์ผูกพันเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ส่วนข้อมูลอื่น ๆที่ไม่เกี่ยวข้องผูกพันด้วยมนุษย์ก็จะไม่รับไว้กล่าวคือมนุษย์เพศชายกับเพศหญิง อาจจะมีการรับข้อมูลต่างชนิดกัน หรือบางข้อมูลก็เหมือนกันฉะนั้น ข้อมูลทั้งหลายจึงมีสะสมในตัวมนุษย์แต่ละคน และไม่มีการสะสมในลักษณะนี้ในสิ่งอื่น ๆ ดังนั้น เวลาที่มนุษย์กำหนดจะส่งข้อมูลใด ๆ ออกไปก็เท่ากับมนุษย์ได้ส่งข้อมูลจากแหล่งสะสมภายในตัวของมนุษย์ออกไปยังผู้รับภายนอกสำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติจะมีพฤติกรรมในการสื่อสารแตกต่างกันออกไป คือเครื่องมือเหล่านี้ไม่มีการเจริญเติบโต และไม่สามารถสะสมเพิ่มเติมหรือขยายอำนาจการสะสมเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ ออกไปนอกเหนือจากที่ถูกกำหนดให้มีไว้แล้วตั้งแต่เริ่มแรกได้ ฉะนั้นลำดับและขอบเขตของพฤติกรรมนี้จะจำกัด และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ครั้งแรกในการสร้างเครื่องมือนั้นขึ้นมา 2. ผู้รับ (Receiver) เป็นฝ่ายแปลความในสารที่ได้รับมา และการพิจารณาตัดสินใจของผู้รับก็จะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยที่การตัดสินใจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันเนื่องจากสารนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ส่ง ด้วยเหตุดังกล่าว อาจจะสรุปหลักการ สำคัญของการสื่อสารได้ คือ ผู้ส่งจะส่งสารไปยังผู้รับ ฉะนั้นผู้รับจะต้องมีความรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งส่งมาและแปลความหมายในสารนั้นแล้วตอบกลับไปยังผู้ส่งเช่นนี้เรื่อยไป 3. สาร (Message) คือเนื้อหาหรือข้อมูลที่ถูกส่งซึ่งการตีความหมายของสารจะอยู่ที่ตัวผู้รับไม่ได้อยู่ที่ตัวสารเอง เพื่อที่จะให้ผู้รับแสดงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งต้องการ ผู้ส่งจะต้องเข้ารหัสข้อมูลที่ต้องส่งนั้นก่อน การเข้ารหัสเป็นวิธีการเลือกและเรียงลำดับของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีความหมาย และเป็นที่เข้าใจต่อทั้งผู้ส่งและ ผู้รับเช่น ผู้โฆษณาสินค้าต้องการโฆษณาสินค้าแก่ลูกค้าว่ายาสีฟันของเขาเมื่อใช้แล้วจะรู้สึกเย็นสดชื่น ปัญหาก็คือผู้โฆษณาจะใช้รหัสชนิดใดจึงจะดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ ในทำนองเดียวกันกับการเรียนการสอนถ้าครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจในสารหรือเนื้อหา ครูจะต้องเข้ารหัสสารนั้นอย่างรัดกุมที่สุด คือครูจะต้องเลือกใช้คำพูดหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ง่ายที่สุดสำหรับครูและผู้เรียน การเข้ารหัสข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเป็นงานยากอย่างหนึ่งที่ครูจะต้องเผชิญและการเลือกรหัสก็เป็นกุญแจสำคัญที่สุดของการ สื่อสารสำหรับข้อมูลที่ผู้ส่งออกไปจะได้รับความสนใจจากผู้รับปลายทางหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง ของการส่งข้อมูลและการส่งข้อมูลจำนวนจำกัดซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจะได้ผลดีกว่าการส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ แต่น้อยครั้ง ดังนั้นในการเรียนการสอนครูอาจจะเน้นหรือซ้ำเนื้อหา ในการสอนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการบรรยายซ้ำ ๆ การกระทำเช่นนี้จะสามารถเพิ่มโอกาส ให้เกิดความสนใจได้ แต่จะซ้ำครั้งมากน้อยเท่าใด จึงจะมีประสิทธิภาพนั้นย่อมแล้วแต่ และอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอนหรือผู้ติดต่อสื่อสารเอง 4. สื่อกลาง (Medium) เป็นช่องทางหรือขอบข่ายของช่องทางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งกับผู้รับเช่นเดียวกันกับที่สินค้าอาจจะถึงปลายทางได้โดยสื่อกลางของการขนส่งนานาชนิด สารก็เช่นกันอาจจะผ่านถึงยังผู้รับได้โดยอาศัยสื่อชนิดต่าง ๆหากแต่ว่าสื่อกลางในการสื่อสารต่างจากสื่อการคมนาคมที่ว่า สื่อกลางการสื่อสารนี้จะจัดรูปของสาร ให้มีลักษณะเป็นไปตามลักษณะของสื่อกลางนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หนังสือและภาพยนตร์ ข้อมูลที่แพร่มาสู่เราโดยตัวหนังสือและโดยทางภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์นั้นมีความต่างกัน หากผู้รับต้องตัดสินใจว่าจะอ่านหนังสือก่อนแล้วดูภาพยนตร์ทีหลัง หรือจะดูภาพยนตร์ก่อนแล้วอ่านหนังสือที่หลัง สื่อทั้งสองนี้ก็จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่ต่างกันด้วยสื่อกลางทุก ชนิดจะมีอิทธิพลและลักษณะเฉพาะแฝงตัอยู่ในตัวของมันเอง จึงทำให้สื่อกลางเป็นส่วนหนึ่งของสารไปด้วย บางครั้งเราจึงไม่อาจแยกสื่อกลางและ สารออกจากกันได้ ตัวอย่างเช่นรูปภาพโมนาลิซา จิตรกรได้สอดแทรกเอาความประทับใจไว้ในภาพทั้งหมด เราจึงไม่อาจแยกตัวภาพออกจากความหมายได้ ในกรณีที่ผู้ส่งเป็นเครื่องจักร สื่อกลางจะถูกจำกัดตามสภาพของ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เช่น สื่อกลางที่จะใช้เชื่อมหลอดไฟบนเพดานกับ สวิตช์ไฟบนฝาผนังจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากสายไฟซึ่งต่างกับกรณีของสิ่งมีชีวิต เช่น ครูอาจจะเลือกสื่อกลางต่าง ๆ ในการติดต่อกับผู้เรียนได้หลายอย่าง เช่น เสียงพูด การเขียน โทรทัศน์ภาพยนตร์ หรือเทปบันทึกเสียง เป็นต้นขอบข่ายของสื่อกลางการติดต่อสื่อสารที่ส่งออกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และวงจรการติดต่อสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อขอบข่ายการสื่อสารนั้นถูกส่งกลับคืนจากผู้รับมายังผู้ส่งอีกครั้งหนึ่งระบบนี้เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ (Feedback information)ตามวิธีการนี้จะทำให้ระบบการสื่อสารมีการตรวจแก้ไขภายในตัวเอง ซึ่งจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสรุปแล้วสารจะต้องถูกเข้ารหัส โดยผู้ส่งและส่งผ่านไปยังสื่อกลางด้วยวิธีที่จะเกิดความสับสนน้อยที่สุดแก่ผู้รับเพื่อให้ผู้รับทราบความหมายที่ใกล้เคียงที่สุดของสารโดยไม่เข้าใจไปเป็นอย่างอื่น สารที่สมบูรณ์จะต้องไม่ทำให้ผู้รับเข้าใจเป็นอย่างอื่นหรืออาจกล่าวได้ว่าทางเลือกยิ่งน้อยเท่าใดระบบการสื่อสารก็จะได้ผลมากขึ้น การสื่อสารกับการเรียนการสอน ในระบบการเรียนการสอน หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียนถ้าเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบ การสื่อสารกับองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการการสอน ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครู วิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบ ว่า การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดี จะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนแน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป ดังนั้นในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและกระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วยคือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินผลได้ทันทีมีการ เลือกและจัดลำดับประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยต้องคำนึง ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะสมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์ครูควรสามารถเลือกและใช้สื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอนให้ได้ผลดี สำหรับสื่อกลางในการ เรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. วัสดุ (Material or Software) ได้แก่วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศเป็นต้น 1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียงแผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุรายการ โทรทัศน์ เป็นต้น 2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device orHardware) ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น 3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Techniqueor Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่นการสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและหุ่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและนิทรรศการ ตลอดจนเทคนิคในการเสนอบทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือเป็นต้น ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) 2. การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) 3. ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) 4. การทดสอบหลังการเรียน (Post Test) 4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน 1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน 2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้ 3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม 4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน 5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ 7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ 8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน... ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน การสื่อสารในห้องเรียน ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่ - การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง - การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้ การสื่อสารในการศึกษาทางไกล การศึกษาทาง”กลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน เป็นต้น - การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ของวิชา ส่งการบ้านหรือถามคำถามทางอีเมลไปยังผู้สอนสอน หรือติดคำถามบนเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ - การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนล็อกออนเข้าเข้าเรียนในเวลาที่ผู้สอนกำหนด ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทันที หรืออาจเป็นการเรียนแต่มีการนัดหมายเวลาเพื่อสนทนาสดด้วยเสียงแบบเห็นหน้ากันหรือพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ หลักการเลือกสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยในการเลือกสื่อ ผู้สอนจะต้องตั้ง วัตถุประสงค์ เชิงพฤตกรรมในการเรียนให้แน่นอนเสียก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์ นั้นเป็นตัวนำชี้นำให้การเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังมีหลักการ อื่นๆเพื่อประกอบ คือ 1.สื่อนั่นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน 2.เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที 3.เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน 4.สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป 5.ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง 6.มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน จากหลักกรนี้สรุปได้ว่า การจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ นั้นผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในเรื่องต่างๆดังนี้ 1.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน 2.จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้นำ บทเรียน ใช้ในการประกอบคำอธิบาย ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียน หรือใช้ เพื่อสรุปบทเรียน 3.ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของสื่อชนิดต่างๆ แต่ละชนิดว่า สามารถเร้าความสนใจและ ให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น หนังสือเรียน และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง 4.ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบัน การศึกษาสื่อบางอย่างจะคุ้มค่าในการผลิตเองหรือไม่ หรืออาจหายืมได้ที่ไหนบ้าง สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนคือ สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้ ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้ ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้ ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน